วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

การติดตั้ง phpnuke



สารบัญ

เรื่อง
หน้า
CMS คือ อะไร
1
PHP - Nuke
1
หน้าตาของ PHP-Nuke
2
ข้อดีของ PHP-Nuke
5
เกี่ยวกับผู้พัฒนา PHP-Nuke
5
เตรียมความพร้อมก่อนการใช้งาน PHP-Nuke
5
การติดตั้ง AppServ
6
การติดตั้ง PHP-Nuke
14
การใช้งาน PHP-Nuke เบื้องต้น
25
การใช้ป้ายประกาศ
25
การใช้งานเมนู (Blocks)
32
การจัดการโมดูล(modules)
36
การเลือกหน้ากากของเว็บไซต์และภาษา
37
การติดตั้ง modules, themes และ Blocks ใหม่
38









CMS คือ อะไร
CMS ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โดยที่ตัว CMS เองมีโปรแกรมประยุกต์ แบบพร้อมใช้งานอยู่ภายในมากมายอาทิ ระบบจัดการบทความและข่าวสาร(News and Story) ระบบจัดการบทวิจารณ์ (Review), ระบบจัดการสมาชิก(Mamber) ระบบสืบค้นข้อมูล(Search) ระบบจัดการไฟล์ดาวน์โหลด(Download), ระบบจัดการป้ายโฆษณา(Banner), ระบบการวิเคราะห์และตรวจสอบสถิติความนิยมในเว็บไซต์ (Analysis, Tracking and Statistics) เป็นต้น











ภาพที่ 1 แสดงส่วนประกอบของ CMS

ปัจจุบันซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง CMS มีหลายตัวด้วยกันอาทิเช่น PostNuke, PHP-Nuke, MyPHPNuke, Mambo, eNvolution, MD-Pro, XOOPs, OpenCMS, Plone, JBoss, Drupal เป็นต้น

PHP - Nuke
PHP-Nuke คือ ระบบเว็บท่า (Web Portal System) เหมือนอย่าง Sanook Hunsa ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี หรือโปรแกรมที่ใช้เล่าเรื่องราว (Story Telling Software) ในสิ่งที่เราต้องการนำเสนอผ่านเว็บ หรือแม้แต่ชุมชนออนไลน์ (Online Community) แบบ Pantip ก็ทำได้หรืออื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้งาน PHP-Nuke ถูกจัดอยู่ในโปรแกรมประเภท ระบบจัดการเนื้อหา (Content Management System :CMS) และเป็นโปรแกรมแบบ Open Source (Free Software) โดย PHP-Nuke สร้างมาจากข้อมูลพื้นฐานระหว่างภาษาพีเอชพี(PHP) ร่วมกับระบบฐานข้อมูล MySQL โดยผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ชุดนี้อยู่ภายใต้ของลิขสิทธิ์ GNU General Public License(GPL) คือสามารถนำไปแก้ไขดัดแปลงได้ โดยที่จะยังคงชื่อ และส่วนต่างๆของ ข้อมูลอยู่โดยครบและไม่มีการซื้อขายใดๆทั้งสิ้น

วัตถุประสงค์
PHP-Nuke นั้นออกแบบมาสำหรับใช้เป็น ระบบข่าวสาร / บทความอัตโนมัติ (News/ Articles Automated System) ที่ผู้เข้ามาใช้สามารถมีส่วนร่วม โดยการส่งข่าวสาร / บทความ / ข้อเสนอแนะ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันในข่าวสารหรือบทความต่างๆ เหมาะสำหรับใช้งานใน Internet หรือ Intranet โดยผู้ดูแลระบบ (Administrator) สามารถควบคุมดูแล เว็บไซต์ ตลอดจนสมาชิกทั้งหมด ด้วยเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการบริหารและการจัดการเว็บไซต์ ที่สามารถสั่งงานผ่านทางอินเตอร์เน็ต ใช้ประโยชน์จากการนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ ที่สำคัญง่ายต่อการใช้งานและดูแลรักษาเว็บไซต์ ด้วยอินเตอร์เฟชภายในแบบรูปแบบภาพ (GUI) ยืดหยุ่นในการขยายระบบการทำงานแบบโมดูล (Modules) และประกอบไปด้วยรูปแบบในการนำเสนอที่กลมกลืนและสวยงาม ที่เรียกว่า ธีม (Theme) นั่นเอง

หน้าตาของ PHP-Nuke
แบ่งตามโครงสร้างได้ดังนี้
1. Header หรือส่วนหัวของเว็บ จะปรากฏอยู่ทุกๆหน้าของเว็บเพจในเว็บไซต์ จึงมักเป็นส่วนที่เอาไว้แสดงสัญลักษณ์ประจำเว็บไซต์ หรือลิงก์ที่สำคัญและใช้กันบ่อยๆ เช่น เมนูหรือลิงก์ Home สำหรับคลิกกลับมาที่หน้าแรกของเว็บไซต์ หรืออื่นๆขึ้นอยู่กับสคริปต์ของ PHP-Nuke ที่เขียนไว้ในแต่ละ Theme ( เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมรูปร่างหน้าตาของเว็บไซต์และวิธีที่สิ่งต่างๆแสดงออกไปปรากฏแก่ภายนอก โดยจะประกอบไปด้วยกลุ่มของฟังก์ชันมาตรฐาน และตัวแปรที่สามารถเรียกใช้ได้โดยโมดูลหรือเมนูใดๆบนเว็บไซต์ )


ภาพที่ 2 แสดงส่วน Header ของ PHP-Nuke


2.  Body หรือส่วนเนื้อหาในเว็บไซต์ ซึ่งแบ่งพื้นที่เป็นส่วนย่อยอีก 3 ส่วน ดังนี้
พื้นที่ฝั่งซ้าย  พื้นที่ตรงกลางและพื้นฝั่งขวา ซึ่งแต่ละส่วนจะมีบล็อกย่อยๆ อยู่หลายบล็อก  เนื่องจาก PHP-Nuke เป็นระบบ CMS (Content Management System) ที่ประกอบขึ้นจากโมดูลย่อยๆมากมาย และเนื่องจากเป็นซอฟท์แวร์ Open Source การพัฒนา PHP-Nuke จึงสามารถพัฒนาโมดูลใหม่ๆเพิ่มเติมได้ โมดูลเป็นส่วนที่เป็นเนื้อหาของเว็บไซต์ซึ่งผู้เข้าชมสามารถใช้งานได้



ภาพที่ 3 แสดงส่วน Body ของ PHP-Nuke

โมดูลส่วนใหญ่สามารถที่จะกำหนดให้ทำงาน (Activated) หรือไม่ทำงาน (Deactivated) ได้ที่ส่วนการจัดการของโมดูล โดย Admin ของระบบ
แสดงรายชื่อของโมดูล ตัวอย่างโมดูล
•  โมดูล AvantGo บริการสำหรับให้ผู้ชมเรียกดูบทความ
•  โมดูล Feedback บริการสำหรับให้ผู้ชมเขียนข้อเสนอแนะ
•  โมดูล Recommend us บริการสำหรับให้ผู้ชมแนะนำเว็บให้เพื่อน
•  โมดูล Search บริการสำหรับให้ผู้ชมค้นหาข้อความหรือคำ
•  โมดูล Statistics เป็นโมดูลที่ไม่ต้องทำอะไร เอาไว้เก็บ
•  โมดูล Stories Archive แสดงบทความให้อ่าน
•  โมดูล Top 10 รวบรวมและแสดงสถิติการจัดอันดับความนิยมด้านต่างๆภายในเว็บไซต์
•  โมดูล Topic แสดงบทความให้อ่านโดยแบ่งตาม Topic
•  โมดูล Forums
•  โมดูล News
•  โมดูล Reviews
•  โมดูล Web link
•  โมดูล Download
บล็อก (Block) คือเมนู อาจใช้แสดงข้อมูลข่าวสารหรือการโฆษณา Block ส่วนใหญ่สามารถที่จะกำหนดให้ทำงาน (Activated) หรือไม่ทำงาน (Deactived) ได้ที่ส่วนการจัดการของ Block โดย Admin ของระบบได้เช่นกัน
Block แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
•  HTML
•  File
•  RSS/RDF
บล็อก Who's online แสดงจำนวนผู้ชมที่เข้าชมเว็บขณะนี้ และบอกให้ผู้ชมเว็บรู้เขามีสถานะเป็นเพียงผู้เข้าชมเว็บธรรมดาทั่วไป หรือเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ บล็อก Languages เป็นบล็อกที่ให้เลือกภาษาในการแสดงผล และบล็อก Amazon ซึ่งแสดงชื่อสินค้าในเว็บไซต์ www.amazon.com (amazon.com เป็นสปอนเซอร์รายหนึ่งของ PHP-Nuke)  บล็อกย่อยๆ ทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ฝั่งซ้าย พื้นที่ตรงกลาง หรือพื้นที่ฝั่งขวาก็ตามสามารถจะย้ายสลับตำแหน่งกันได้
3. Footer หรือส่วนท้ายของเว็บ จะปรากฏอยู่ตอนท้ายของทุกๆหน้าเว็บเพจในเว็บไซต์ โดยกำหนดให้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับอะไรในบริเวณนี้ก็ได้ เช่น โลโก้ของเว็บไซต์ที่เป็นสปอนเซอร์ แสดงข้อความประกาศลิขสิทธิ์ หรือแสดงข้อความบอกให้ผู้ชมทราบว่าต้องกำหนดขนาดหน้าจอเป็นเท่าไรจึงจะเหมาะสมกับการดูเว็บไซต์ เป็นต้น






ภาพที่ 4 แสดงส่วน Footer ของ PHP-Nuke

ทั้ง Header, Body และ Footer นี้ สามารถจัดการวางตำแหน่ง และแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาได้ทั้งหมด โดยอาศัย Administration Menu อันเป็นศูนย์กลางในการทำงานทุกอย่าง ดังนั้น Administration Menu จึงเป็นส่วนที่สำคัญและต้องใช้บ่อยที่สุด


ข้อดีของ PHP-Nuke
มีหลายๆ โปรแกรมที่มีลักษณะการทำงานคล้ายๆกับ PHP-Nuke ตัวอย่างเช่น Postnuke, phpWebSite, myPHPNuke, Xoops และอื่นๆ แต่ PHP-Nuke ถูกออกแบบให้สามารถปรับแต่งได้ มีความยืดหยุ่นสูง ง่ายและสะดวกต่อการใช้งานช่วยทุ่นเวลาในการทำงานของเว็บมาสเตอร์ในการบริหารเว็บไซต์ PHP-Nuke ยังประกอบไปด้วยคุณสมบัติเด่นมากมายที่ไม่มีในระบบอื่น ตลอดจนมีการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลา ( ปัจจุบันเวอร์ชัน 8.0)

เกี่ยวกับผู้พัฒนา PHP-Nuke
ผู้พัฒนา PHP-Nuke คือ Fracidco Burzi (FB) เกิดใน Quebec ประเทศแคนาดาโดยเริ่มแรกเมื่อปี 1998 เขาเป็นเว็บมาสเตอร์ http://linuxpreview.org ภาษาที่ใช้คือ Perl และเรียกเว็บไซต์ที่เขาเขียนว่า Nuke แต่หลังจากนั้น 1 ปีเว็บไซต์มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นเขาจึงต้องหาโฮสต์ที่มีระบบใหญ่กว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น ซีพียูหรือฮาร์ดดิสก์ และเขาก็ได้ตัดสินใจเลือกเช่าใช้บริการเว็บโฮสติ้งที่ Slash ซึ่งเป็นที่เดียวกันกับ Slashot.org ซึ่งเป็นเว็บที่รวมพบคนที่นิยมโอเพ่นซอร์ช
ต่อมาเขาพบว่าการเขียนเว็บไซต์ด้วยภาษา Perl ทำให้ซีพียูทำงานหนัก เพราะไม่ได้ถูกออกแบบสำหรับเขียนเว็บโดยเฉพาะ ทำให้ต้องหาทางแก้ไขโดยหันมาเริ่มศึกษา PHP แล้วเขาพบว่า PHP เป็นภาษาที่เขียนง่ายกว่า Perl และเหมาะสมกับการพัฒนามากกว่า เขาจึงใช้เวลาเขียนและแก้ไขโค้ดโปรแกรมทั้งหมดด้วย PHP และหลังจากนั้น 3 สัปดาห์ PHP-Nuke จึงเกิดขึ้น

สิ่งที่ต้องรู้ในการใช้ PHP-Nuke
•  ต้องทราบถึงหลักการทำงานเบื้องต้นในการเปลี่ยนแปลงค่าสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วยคำสั่งการจัดการ (administrative function) ของ PHP-Nuke โดยระบบเองถูกออกแบบให้ทำงานต่างๆอย่างอัตโนมัติผ่านเว็บบราวเซอร์ต่างๆของคุณ  ( จากเมนูผู้ดูแลระบบ ) โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขไฟล์ที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง (web base administration)
•  HTML เป็นสิ่งที่จำเป็นในกรณีที่ต้องการปรับแต่งเว็บไซต์นอกเหนือจากที่ระบบมีมาให้
•  ความรู้เกี่ยวกับ PHP และ MySQL มีความจำเป็นในกรณีที่ต้องการปรับปรุงหรือพัฒนาระบบ PHP-Nuke ให้มีลักษณะเฉพาะที่เป็นรูปแบบของเราเอง

เตรียมความพร้อมก่อนการใช้งาน PHP-Nuke
ในการใช้งาน PHP-Nuke นั้นสามารถติดตั้งใช้งานได้ 2  ลักษณะ คือ
1. ติดตั้งบน Web Server  ที่รองรับฐานข้อมูล My-SQL หรือ PostgresSQL และตัวแปลภาษา PHP
2.  ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC  โดยจำลองเครื่องให้เป็น Web Server ซึ่งมีโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้มากมายและยังสามารถใช้งานได้ฟรี  โดยในครั้งนี้เราจะใช้โปรแกรม AppServ  ซึ่งพัฒนาโดยทีม AppServ-Network  
AppServ คือ โปรแกรมที่รวมเอา Package ของ
-                   Apache          ใช้สร้าง Web Server
-                   PHP               ตัวแปลภาษา PHP
-                   MySQL         ฐานข้อมูล
-                   PHPMyAdmin            โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL

การติดตั้ง AppServ เพื่อจำลองเครื่องตนเองเป็นเว็บเซิฟเวอร์ และติดตั้ง PHP-Nuke เริ่มต้นด้วยการดาวน์โหลดไฟล์ AppServ และ PHP-Nuke มาเตรียมเอาไว้ สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์
http://www.appservnetwork.com สำหรับโปรแกรม AppServ
http://www.thainuke.org , http://www.phpnuke.org  สำหรับโปรแกรม PHP-Nuke

การติดตั้ง AppServ
                หลังจาดดาวน์โหลดโปรแกรม AppServ เวอร์ชัน 2.5.10 แล้วไฟล์ที่ได้ดาวน์โหลดมาชื่อ appserv-win32-2.5.10.exe  ให้ทำการติดตั้งโดยการรันไฟล์ appserv-win32-2.5.10.exe  


ภาพที่ 5 การติดตั้งโปรแกรม AppServ
เมื่อคลิก Next>  ตัวติดตั้งจะแสดงข้อตกลงและลิขสิทธิ์การใช้งาน


ภาพที่ 6 ข้อตกลงและลิขสิทธิ์

เมื่อคลิก I Agree เพื่อยอมรับข้อตกลง ตัวติดตั้งจะให้เราเลือกไดร์ที่จะติดตั้งโปรแกรม


ภาพที่ เลือกไดร์ที่ต้องการติดตั้งโปรแกรม
เมื่อคลิก Next>   ตัวติดตั้งจะแสดง Package ต่าง ๆ ที่ต้องการติดตั้งให้เลือกทั้งหมด


ภาพที่ เลือกโปรแกรมที่จะติดตั้ง

เมื่อคลิก Next>   ตัวติดตั้งจะให้ตั้งค่าของ Apache ให้กรอกข้อมูลดังนี้
Server Name       ให้ใส่  localhost
Email                     ให้ใส่อีเมล์แอดเดรส
Port                        ให้ใส่ค่าตัวเลข ใส่  80


ภาพที่ ตั้งค่าโปรแกรม Apache
ถ้าเราไม่กรอกข้อมูลให้ครบ ตัวติดตั้งจะแจ้งข้อผิดพลาดให้เราทราบ



ภาพที่ 10  แสดงข้อผิดพลาดจากการตั้งค่า

เมื่อคลิก Next>   ตัวติดตั้งจะให้ตั้งค่าโปรแกรม MySQL ให้กรอกข้อมูลดังนี้
Root password    กรอก 2 ครั้งให้เหมือนกันจากตัวอย่างใส่  1234
MySQL Server Setting    ให้เลือกเป็น UTF-8 Unicode


ภาพที่ 11  แสดงตั้งค่าโปรแกรม MySQL



เมื่อคลิก Install  ตัวติดตั้งจะทำการติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ที่ได้ตั้งค่าไว้  รอสักครู่ให้โปรแกรมทำการติดตั้งจะเสร็จ


ภาพที่ 12  ตัวติดตั้งกำลังติดตั้งโปรแกรม

ถ้าในการติดตั้งนั้น ได้ติดตั้งบน Windows SP2 ซึ่งจะมี  Firewall  คอยบล็อกการทำงานของโปรแกรมบางอย่าง จะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมาให้เลือกว่าเราจะอนุญาตให้ทำงานอย่างไร  ให้เราคลิกเลือก Unblock


ภาพที่ 13  Windows Security Alert
เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วตัวติดตั้งจะให้เราเลือกว่าจะให้โปรแกรมได้เริ่มทำงานบ้าง  ให้เลือกทั้งหมดแล้วคลิก Finish


ภาพที่ 14  การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์

เราสามารถทดสอบการทำงานของโปรแกรม AppServ ได้โดยการเปิดโปรแกรม Internet Explorer แล้วเรียกไปที่ localhost  จะแสดงรายละเอียดดังภาพ



ภาพที่ 15  ทดสอบด้วยการเรียก url ไปที่ localhost

 

ให้สร้างฐานข้อมูลสำหรับการติดตั้ง PHP-Nuke  โดยการคลิกไปที่ phpMyAdmin Database Manager  จากนั้นให้กรอก User name และ Password ซึ่ง Username  จะเป็น root  และ password คือ 1234 ตามที่ได้ตั้งไว้ตอนติดตั้ง


ภาพที่ 16  กรอก User name และ Password

เมื่อเข้าโปรแกรม phpMyAdmin แล้วจะสามารถเลือกภาษาในการแสดงผลเป็นภาษาไทยได้ที่ช่องตัวเลือก Language


ภาพที่ 17 โปรแกรม phpMyAdmin
การสร้างฐานข้อมูล ให้สร้างโดยเลือกชุดข้อมูลเป็น utf8_unicode_ci  ในช่อง สร้างฐานข้อมูลใหม่ให้ใส่ชื่อฐานข้อมูลที่ต้องการสร้าง จากตัวอย่างใส่ชื่อฐานข้อมูลเป็น phpnuke  และชุดตัวอักษรเลือกเป็น utf8_unicode_ci  แล้วคลิกที่ สร้าง




ภาพที่ 18 การสร้างฐานข้อมูล

จากนี้ก็เป็นการเตรียมการเสร็จแล้วสำหรับการติดตั้งและใช้งาน PHP-Nuke



การติดตั้ง PHP-Nuke
                PHP-Nuke ที่ใช้ในการติดตั้งในครั้งนี้เป็น PHP-Nuke เวอร์ชั้น 8.0 และเป็นเวอร์ชั่นที่ได้ผ่านการพัฒนาจาก Thai nuke ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ชื่อว่า PHP-Nuke 8 Thai Attach Mods และได้มีการปรับเปลี่ยนเครื่องมือใหม่ให้สามารถใช้งานง่ายขึ้น  ไฟล์ที่ได้มาจะชื่อว่า PHP-Nuke-8.0-FCK_Thai_Specia-Edition.zip  ให้แตกไฟล์ออกมา
















ภาพที่ 19 การแตกไฟล์ zip อย่างรวดเร็ว

ในการแตกไฟล์ ได้ทำการก็อปปี้ไฟล์จากแผ่น CD-Rom มาไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ก่อน เพื่อให้สามารถทำงานได้สะดวกขึ้น เมื่อแตกไฟล์แล้วให้เขาไปในโฟล์ที่แจกไฟล์ออกมาจะมีรายละเอียดของไฟล์และโฟล์เดอร์ดังภาพ







ภาพที่ 20 ไฟล์และโฟล์เดอร์

โฟล์เดอร์ที่เก็บโปรแกรม PHP-Nuke คือ html  ให้เข้าไปในโฟล์เดอร์นี้ ทำการเลือกทั้งหมดด้วยการกดปุ่ม Ctrl+A  แล้วกด Ctrl+C














ภาพที่ 21 ไฟล์และโฟล์เดอร์ของ PHP-Nuke

จากนั้นให้ไปที่โฟล์เดอร์ของ AppServ ที่ได้ติดตั้งไว้ แล้วเข้าไปที่โฟล์เดอร์ www














ภาพที่ 22 ไฟล์และโฟล์เดอร์ของ AppServ->www

ให้สร้างโฟล์เดอร์สำหรับเก็บโปรแกรม PHP-Nuke ขึ้นมาจากตัวอย่างนี้สร้างโฟล์เดอร์ชื่อว่า NukeTest







ภาพที่ 23 สร้างโฟล์เดอร์ NukeTest

จากนั้นให้เข้าไปที่โฟล์เดอร์ NukeTest แล้วทำการวางไฟล์และโฟล์เดอร์ที่ได้ทำการก็อปปี้ไว้โดยการกดปุ่ม Ctrl+V 


ให้ทำการแก้ไขไฟล์ config.php โดยการเปิดด้วย Text Editor ตัวใดก็ได้  แล้วทำการแก้ไขค่าต่าง ๆ ดังนี้
                $dbhost                 = “localhost”;      //             ชื่อโฮสของ Database Server MySQL
                $dbuname             = “root”;               //             ชื่อผู้ใช้
                $dbpass                 = “1234”;             //             รหัสผ่าน
                $dbname               = “DBMSNukeTest”;      //             ชื่อฐานข้อมูล
                $prefix                  = “nuke”;             //             คำนำหน้าตาราง








ภาพที่ 25 แก้ไขไฟล์ config.php


ถึงตรงนี้ก็เป็นการเตรียมพร้อมที่จะเริ่มการติดตั้งโปรแกรม     PHP-Nuke กันแล้ว

เริ่มการติดตั้งโปรแกรม PHP-Nuke  โดยการเรียก url ไปที่ http://localhost/NukeTest/install 
ให้คลิกไปที่ ต่อไป»














ภาพที่ 26 ตรวจสอบก่อนการติดตั้ง

หน้าแสดงลิขสิทธิ์ของ PHP-Nuke ให้คลิกไปที่ ต่อไป»















ภาพที่ 27 แสดงลิขสิทธิ์ของ PHP-Nuke
ตั้งค่าของฐานข้อมูล MySQL โดยให้กรอกชื่อโฮส, ชื่อผู้ใช้, รหัสผ่านและชื่อฐานข้อมูลตามลำดับ
เสร็จแล้วให้คลิกไปที่ ต่อไป»



















ภาพที่ 28 ตั้งค่าฐานข้อมูลของ PHP-Nuke

เมื่อคลิก ต่อไป»  จะแสดงข้อความเตือนยืนยันความถูกต้อง








ภาพที่ 29 ข้อความเตือนยืนยันความถูกต้อง


ให้ตั้งชื่อของเว็บไซต์ที่ต้องการ แล้วคลิก ต่อไป» 












ภาพที่ 30 ตั้งชื่อของเว็บไซต์

ให้ตั้งค่าผู้ดูแลเว็บโดยการกรอก url ของเว็บ ,อีเมล์และรหัสผ่านสำหรับผู้ดูแล
 แล้วคลิก ต่อไป» 
















ภาพที่ 31 ตั้งค่าผู้ดูแลเว็บ

เมื่อแสดงหน้านี้ก็เป็นอันว่าการติดตั้ง PHP-Nuke เสร็จสมบูรณ์แล้ว  ซึ่งจะแสดงรายละเอียดและข้อแนะนำให้ทราบ















ภาพที่ 32 ติดตั้ง PHP-Nuke เสร็จสมบูรณ์

เมื่อคลิกไปที่ ส่วนจัดการ  PHP-Nuke จะให้ทำการล็อกอินเข้าสู่ระบบจัดการก่อน  โดยรหัสผู้ดูแลเว็บจะเป็น admin และรหัสผ่านตามที่ได้ตั้งไว้ขณะติดตั้ง จากตัวอย่างนี้จะเป็น nuke123456












ภาพที่ 33 เข้าสู่ระบบผู้ดูแลเว็บ

เมื่อเราเข้าสู่ระบบผู้ดูแลเว็บแล้วจะมีบล็อกการจัดการข้อมูลอยู่ 2 ชุดด้วยกันคือ บล็อกเมนูผู้ดูแลเว็บ  และบล็อกจัดการโมดูล














ภาพที่ 34 บล็อกเมนูผู้ดูแลเว็บ 

บล็อกเมนูผู้ดูแลเว็บ เป็นบล็อกเครื่องมือในการจัดการเว็บไซต์ของ PHP-Nuke ซึ่งเครื่องมือที่มีการใช้งานบ่อยมีดังนี้
·     เมนู            ใช้จัดการการสร้างและเรียกใช้งานบล็อกต่าง ๆ
·     ประกาศ      ใช้จัดการข่าวและป้ายประกาศต่างซึ่งแสดงอยู่ในพื้นที่ตรงกลาง
·     โมดูล         ใช้จัดการโมดูลที่ถูกติดตั้งใน PHP-Nuke สามารถเปิด-ปิดการใช้งานและแสดงเป็นเมนูที่พื้นที่ฝั่งซ้าย
·        ค่าติดตั้งเฉพาะระบบ  ใช้จัดการการตั้งค่าต่าง ๆ ของเว็บเช่นการเลือกภาษา,รูปแบบของเว็บ,ข้อความส่วน Footerของเว็บ เป็นต้น
·        แก้ไขผู้ดูแลเว็บ ใช้จัดการผู้ดูแลเว็บ เพิ่ม ลบ และกำหนดสิทธิต่าง ๆ
·        กลุ่มสมาชิก สร้างและจัดการกลุ่มสมาชอกของเว็บไซต์
·        จดหมายข่าว  ใช้สำหรับการส่งจดหมายต่างๆ ถึงสมาชิดเว็บไซต์
·        Optimize DB ใช้สำหรับปรับปรุงและซ่อมแซมฐานข้อมูล












ภาพที่ 35 บล็อกจัดการโมดูล 

บล็อกจัดการโมดูล  เป็นบล็อกเครื่องมือในการจัดข้อมูลของแต่ละโมดูลในเว็บไซต์ ซึ่งมีโมดูลที่สำคัญและใช้งานบ่อย ๆ ดังนี้
·         เนื้อหา          ใช้จัดการบทความเนื้อหาต่าง ๆ ในเว็บ
·         ดาวน์โหลด ใช้สำหรับการจัดการไฟล์ดาวน์โหลดต่าง ๆ
·         Forums        ใช้สำหรับจัดการกระดานถามตอบหรือเว็บบอร์ด
·         แบบสำรวจ  ใช้สำหรับสร้างและจัดการแบบสำรวจ(Poll)
·         หัวข้อเรื่อง   ใช้สร้างกลุ่มหัวข้อซึ่งจะใช้งานร่วมกันกับข่าวสาร
·         ข่าวสาร        ใช้สำหรับจัดการบทความ
·         สารบัญเว็บ  ใช้สำหรับจัดการเว็บลิงค์
·         สมาชิก         ใช้สำหรับการจัดการระบบสมาชิก



เมื่อทำการล็อกอินด้วยผู้ดูแลเว็บรายการเมนูฝั่งซ้ายจะมีเมนูเพิ่มขึ้นมาอีก 2 บล็อก  คือเมนูสำหรับผู้ดูแลระบบ  และเนื้อหารอการอนุมัติ












ภาพที่ 36 บล็อกเมนูที่เพิ่มมาเมื่อล็อกอินด้วยผู้ดูแลระบบ

เมื่อคลิกไปที่เมนู หน้าแรก ซึ่งเป็นหน้าโฮมเพจของเว็บจะมาข้อมูลและหน้าตาดังภาพ


















ภาพที่ 37 เว็บไซต์หลังการติดตั้ง PHP-Nuke ใหม่ ๆ


การใช้งาน PHP-Nuke เบื้องต้น

                ต่อไปนี้จะเป็นวิธีการใช้งานในฐานะผู้ดูแลเว็บเพื่อจัดการรูปอบบและข้อมูลต่าง ๆ  ให้เข้าสู่ระบบผู้ดูแลเว็บด้วย url http://localhost/nuke/admin.php  ซึ่งเราจะต้องเรียกไฟล์ admin.php เพื่อเข้าสู่ระบบผู้ดูแลเว็บให้เรากรอกรหัสผู้ดูแลและรหัสผ่านให้เรียบร้อยแล้วคลิกเข้าสู่ระบบ














ภาพที่ 38 เปิดเว็บ http://localhost/nuke/admin.php

การใช้ป้ายประกาศ
        จากภาพที่ 37 จะเห็นว่า ข้อมูลที่แสดงอยู่ขณะนี้จะเป็นข้อมูลตัวอย่างของ PHP-Nuke แสดงข้อความต้อนรับ  ซึ่งส่วนนี้จะเป็นการใช้ป้ายประกาศ(messages)  เมื่อคลิกไปที่ไอคอน ประกาศ จากนั้นเลื่อนแถบเลื่อนลงมาจะเห็นส่วนจัดการข้อมูลของของป้ายประกาศ  ซึ่งมี 2 ส่วนด้วยกัน คือส่วนที่แสดงป้ายประกาศเดิมและมีปุ่มสำหรับการแก้ไขและลบข้อมูล








ภาพที่ 39 ป้ายประกาศเดิมที่มีอยู่แล้ว

และส่วนที่ 2  คือส่วนที่ใช้สำหรับรับข้อมูลป้ายประกาศ  สามารถเพิ่มชื่อเรื่อง,เนื้อหา,กำหนดระยะเวลาใช้งาน,กำหนดการใช้งานและการอนุญาตให้เห็นได้



















ภาพที่ 40 ส่วนรับข้อมูลของประกาศ

และจากภาพที่ 40 จะเห็นว่าช่องรับข้อมูลนั้นมีเครื่องมือจัดการเอกสารในรูปแบบ  WYSIWYG ซึ่งช่วยให้สามารถจัดการข้อความบนเว็บไซต์ได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการเขียนเว็บมากนักก็สามารถใช้งานได้โดยง่าย ซึ่ง PHP-Nuke ในเวอร์ชันนี้ได้ใช้ FCK Editor with file manager 2.2 ซึ่งทำให้สามารถจัดการไฟล์รูปภาพและแฟรชได้สะดวกขึ้น







เกี่ยวกับโปรแกรม FCK Editor สามารถดูได้โดยการคลิกที่  













ภาพที่ 42  เกี่ยวกับโปรแกรม FCK Editor

การแทรกรูปภาพลงในเอกสารคลิกที่    เพื่อเปิดหน้าต่างจัดการรูปภาพ  ซึ่งมีเครื่องมือให้ใช้งาน 3 ส่วน  คือข้อมูลรูปภาพ, Linkและขั้นสูง















ภาพที่ 43  หน้าต่างจัดการรูปภาพ


ให้เลือกรูปภาพโดยการคลิกไปที่  เปิดหน้าต่างจัดการไฟล์อัพโหลด
















ภาพที่ 44  หน้าต่างจัดการไฟล์อัพโหลด

สามารถสร้างโฟล์เดอร์สำหรับแยกเก็บไฟล์ต่าง ๆ  ได้โดยการคลิกไปที่ Create New Folder ใส่ชื่อโฟล์เดอร์ที่ต้องการแล้วคลิก OK







ภาพที่ 45 หน้าต่างสร้างโฟล์เดอร์








การอับโหลดไฟล์รูปภาพ  ให้คลิกไปที่ Browse…  ให้เลือกไฟล์รูปภาพที่ต้องการเมื่อได้ภาพที่ต้องการแล้วคลิก Upload  ถ้าไฟล์ที่จะอับโหลดไม่ใช่รูปภาพ จะมีข้อความแจ้งเตือน





ภาพที่ 47 เครื่องมือสำหรับอับโหลดไฟล์








ภาพที่ 48 ข้อความแจ้งเตือนเมื่ออับโหลดไฟล์ผิด

เมื่ออับโหลดไฟล์ภาพเสร็จแล้วให้คลิกที่ชื่อภาพที่ต้องการจะแทรก  จะกลับมาที่หน้าต่างคุณสมบัติของรูปภาพ จากนั้นสามารถกำหนดค่าต่าง ๆ ได้ตามต้องการ พร้อมทั้งสามารถดูตัวอย่างได้ด้วย
















ภาพที่ 49 การแทรกและกำหนดคุณสมบัติของรูปภาพ
การแทรกแฟรชลงในเอกสารคลิกที่    เพื่อเปิดหน้าต่างจัดการแฟช 

















ภาพที่ 50 การแทรกและกำหนดคุณสมบัติแฟรช

การแทรกตารางลงในเอกสารคลิกที่    เพื่อเปิดหน้าต่างคุณสมบัติตาราง  กำหนดค่าต่าง ๆ ตามต้องการ












ภาพที่ 51 การแทรกและกำหนดคุณสมบัติตาราง
การแทรกจุดลิงค์  สามารถทำได้โดยการเลือกข้อความ หรือรูปภาพแล้วคลิกที่     เปิดหน้าต่างการกำหนดลิงค์













ภาพที่ 51 การแทรกลิงค์

เมื่อทำการแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ เสร็จแล้วคลิก บันทึกการเปลี่ยนแปลง  เมื่อกลับมาดูที่หน้าแรกของเว็บ  ข้อมูลจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามที่ใด้แก้ไข














Text Box: ภาพที่ 52 แสดงหน้าแรกที่ปรับปรุงใหม่

การใช้งานเมนู (Blocks)
                การจัดการเมนู  ให้คลิกไปที่ไอคอน เมนู เมื่อเลื่อนมาดูจะมีรายการเมนูต่าง ๆ อยู่บ้างแล้ว ซึ่งเมนูใน PHP-Nuke  จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ  ส่วนที่อยู่ฝั่งซ้าย กลาง และขวา

















ภาพที่ 53 รายการเมนู

เมนูที่สร้างขึ้นมานี้จะสามารถกำหนดให้แสดงได้หลายลักษณะ  เช่นกำหนดให้ทำงานหรือไม่  กำหนดให้แสดงให้เห็นเฉพาะสมาชิก,กำหนดให้แสดงเฉพาะผู้ดูแลเว็บหรือกำหนดให้เห็นได้หมดทุกคน  นากจากนี้การกำหนดตำแหน่ง  ถ้ากำหนดตำแหน่งเป็นกึ่งกลางก็จะกลายเห็นเนื้อหาของเว็บหรือป้ายประกาศได้ด้วย


การเพิ่มเมนูที่ด้านซ้ายของเว็บไซต์  จากตัวอย่างนี้จะเป็นการเพิ่มโดยใช้บล็อกที่ชื่อว่า Total Hits  ซึ่งเป็นบล็อกแสดงข้อมูลสถิติการเข้าชมเว็บไซต์ และกำหนดตำแหน่งเป็นซ้าย























ภาพที่ 54 การเพิ่มเมนูใหม่

เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วกลับไปดูที่หน้าแรก  จะเห็นเมนูที่เพิ่มเข้ามาทางด้านซ้ายล่างสุด






ภาพที่ 55 เมนูที่เพิ่มเข้ามา
ลำดับของเมนูจะอยู่ต่อท้ายของชุดเมนูตำแหน่งซ้าย















ภาพที่ 56 แสดงตำแหน่งของเมนู

สามารถย้ายตำแหน่งได้ด้วยการคลิกที่ลูกศร   เพื่อเลื่อนลำดับขึ้น  และ เพื่อเลื่อนลำดับลง














ภาพที่ 57 แสดงตำแหน่งของเมนูที่เปลี่ยนลำดับ
การเพิ่มเมนูตรงกลางของเว็บไซต์ โดยส่วนมากจะเป็นการเพิ่มเนื้อหา ข้อความ ต่าง ๆ  ซึ่งจะแสดงเป็นเนื้อหาของเว็บไซต์ โดยเพิ่มเนื้อหาเอง ไม่มีการใช้บล็อกที่มีมาให้

















ภาพที่ 58 การสร้างเมนูตรงกลาง















การจัดการโมดูล(modules)
                โมดูล  หรือโปรแกรมอิสระ  ซึ่งเราสามารถติดตั้งเข้าใหม่หรือจะลบออกก็ได้  แต่ไม่สามารถติดตั้งผ่านระบบจัดการนี้ได้  จะเป็นจะต้องก็อปปี้ลงในโฟลเดอร์  modules ของ PHP-Nuke

















ภาพที่ 60 รายการโมดูลที่ติดตั้ง

การปรับแต่งโมดูลเราสามารถปรับแต่งได้บางส่วน เช่น ชื่อโมดูลที่จะแสดงในเมนูหลัก  กำหนดสิทธิ์ในการมองเห็น











การเลือกหน้ากากของเว็บไซต์และภาษา
                หน้ากากของเว็บไซต์หรือธีม(Theme)  PHP-Nuke มีหน้ากากให้เลือกดาวน์โหลดได้มากมาย  สามารถนำมาปรับแต่งใช้งานได้เองตามความเหมาะสม
                ในการเปลี่ยนหน้ากากเว็บนั้น  คลิกที่ไอคอน ค่าติดตั้งเฉพาะระบบ ที่บล็อกเมนูผู้ดูแลเว็บ  เลื่อนลงไปที่ส่วนของ ข้อมูลทั่วไปของเว็บ
















ภาพที่ 61 การเลือกหน้ากากของเว็บไซต์และภาษา

ในเริ่มแรกนี้ธีมที่ใช้จะมีเพียง 2 ธีมเท่านั้น คือ DeepBlue และ iCGStation เราสามารถเพิ่มได้ภายหลัง ส่วนรูปแบบของเวลาท้องถิ่นของไทยนั้นให้ใส่เป็น th_TH  เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วให้เลื่อนไปล่างสุดเพื่อกด บันทึกการเปลี่ยนแปลง
               






หลังจากบันทักเสร็จจะเห็นรูปแบบของเว็บที่เปลี่ยนแปลงในทันที

















ภาพที่ 62 แสดงการเปลี่ยนแปลงหลังจากเลือกธีมใหม่

การติดตั้ง modules, themes และ Blocks ใหม่
                ก่อนการติดตั้งแต่ละอย่างนั้น เราจำเป็นต้องทราบก่อนว่าจัดเก็บอยู่ที่ไหน ดังนี้
1.             modules   คือโปรแกรมอิสระที่สามารถทำงานต่าง ๆ  ตามที่ผู้พัฒนากำหนดมา ซึ่งบางโมดูล อาจจะมี block มาด้วย  การติดตั้ง โมดูลนั้นจะทำการก็อปปี้ไฟล์ต่าง ๆ ที่เป็นโมดูลลงในโฟลเดอร์ modules  ซึ่งบางโมดูลอาจจะต้องทำการติดตั้งตารางข้อมูลลงในฐานข้อมูลด้วย  บางโมดูลก็ทำการติดตั้งให้อัตโนมัติ  ซึ่งต้องอ่านจากคู่มือที่มากับโมดูลนั้น ๆ
2.             blocks   คือส่วนที่ใช้ในการสร้างเมนูใน PHP-Nuke  บล็อกนั้นจะใช้งานง่าย ติดตั้งไม่ยุ่งยากนัก  เพียงก๊อกปี้ไฟล์ลงในโฟล์เดอร์ blocks ก็สามารถเข้าไปใช้ เมนู จัดการได้ทันที
3.             themes  คือหน้ากากของเว็บไซต์ สามารถติดตั้งได้โดยการก็อปปี้ลงในโฟล์เดอร์ themes



การติดตั้ง โมดูล(modules) และ blocks
                เมื่อเราได้โมดูลที่ต้องการมาให้แตกไฟล์ออกแล้วดูรายละเอียดต่าง ๆ  ก่อนการติดตั้ง หรืออ่านไฟล์คู่มือที่มีมาให้ก่อน  จากตัวอย่างนี้จะเป็นการติดตั้งโมดูลที่ชื่อว่า Thai MP3 Player 1.3  เมื่อแตกไฟล์ออกมาแล้วจะเห็นว่ามีโฟล์เดอร์และไฟล์ดังนี้

                










ภาพที่ 63 โฟล์เดอร์และไฟล์ของ Thai MP3 Player

เมื่อเราอ่านจากไฟล์คูมือจะมีข้อความบอกดังนี้


การติดตั้ง:
***********
อัปโหลดไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ html ไปไว้ยัง PHP-Nuke ของคุณ (ตามที่ระบุ)
หลังจากอัปโหลดไฟล์ต่างๆ(จากข้างบน)แล้ว สั่งให้ติดตั้งตารางต่างๆสำหรับ Thai MP3Player โดย
http://www.yourdomain.com/YOUR_PHPNUKE_ROOT/install_mp3player.php
หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วให้ลบไฟล์ install_mp3player.php ทันที!!!
YOUR_PHPNUKE_ROOT หมายถึงโฟลเดอร์ที่เดียวกับไฟล์ mainfile.php, config.php ของคุณ

จากนั้นเข้าไปที่ "เมนูของผู้ดูแลระบบ"
---> MP3Player
- อัปโหลดเพลง(ไฟล์) ไปไว้ในโฟลเดอร์ "modules/MP3Player/mp3" ก่อน!!!
- เพิ่มเพลง
*** ตรง "ชื่อไฟล์" ให้ใส่เป็น "song.mp3" (เป็นชื่อไฟล์ที่อัปโหลดไปไว้ยังโฟลเดอร์ที่ระบุไว้ข้างบน) ส่วน "ขนาดไฟล์" จะใส่หรือไม่ก็ได้ ***

---> โมดูล สั่งให้โมดูล MP3Player "ทำงาน"
---> เมนู เพิ่มเมนู(ใหม่) ชื่อ "MP3Player"

--------------------------------------------------
ขอให้สนุกกับการใช้งานครับ
thainuke :)
 












จากข้อความนี้บอกให้นำไฟล์ทั้งหมดลงไปในโฟล์เดอร์ PHP-Nuke แล้วให้เสร็จแล้วรันไฟล์ install_mp3player.php เมื่อติดตั้ง
                เมื่อก็อปปี้ลงในโฟล์เดอร์ของ PHP-Nuke แล้วให้เปิดไปที่ http://localhost/nuke /install_mp3player.php  รอสักครู่ก็จะปรากฏดังภาพ
















ภาพที่ 64  ผลการติดตั้งโมดูล

เมื่อกลับไปที่ส่วนจัดการเว็บไซต์ ในส่วนของบล็อกจัดการโมดูล  จะพบว่ามีไอคอนเพิ่มเข้ามาใหม่คือ MP3Player





ภาพที่ 65  โมดูลที่เพิ่มเข้ามา

โมดูลที่เพิ่มเข้ามาใหม่นี้จะยังไม่ถูกใช้งาน  ดังนั้นจะต้องไปกำหนดให้สามารถใช้งานได้ก่อน  โดยไปที่บล็อกเมนูผู้ดูแลเว็บ  และคลิกที่ไอคอน โมดูล


จากภาพจะเป็นว่าสถานะของโมดูลยังไม่ได้ใช้งาน  ให้คลิกที่ปุ่มให้ทำงาน เพื่อเปิดการทำงานของโมดูล














ภาพที่ 66  โมดูลยังไม่ใช้งาน

การเพิ่มหน้ากากของเว็บ(themes)
                ธีมที่ได้มานั้น  เมื่อแตกไฟล์ออกแล้วโดยส่วนมากจะมีโฟล์เดอร์ themes แต่บางธีมก็จะมี blocks และ images มาด้วย  การติดตั้งให้ก็อปปี้โฟล์เดอร์ทั้งหมดลงในโฟล์เดอร์ของ PHP-Nuke ทับกับ themes เดิมเลย  เพราะ ธีมจะไม่ทันกัน เมื่อก็อปปี้แล้วให้กลับไปที่ ค่าติดตั้งเฉพาะระบบ  จะเห็นธีมใหม่ที่ติดตั้งปรากฏอยู่ในรายการเลือกของธีม ซึ่งจากตัวอย่างนี้ ได้เพิ่มธีมใหม่เข้ามา 3 ธีม คือ Amber, Angela และ Infusion




ภาพที่ 67 ธีมที่เพิ่มเข้ามาใหม่
 

ที่มาและแหล่งข้อมูล

http://www.srru.ac.th/wrc/HTML/cms.htm
http://www.appservnetwork.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น